ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะเม่า"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "มะเม่า" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 42: | แถว 42: | ||
:::7. ประโยชน์ของมะเม่าอย่างอื่นก็เช่น การปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มไม้ เป็นต้น <br><br> | :::7. ประโยชน์ของมะเม่าอย่างอื่นก็เช่น การปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มไม้ เป็นต้น <br><br> | ||
'''คำแนะนำ''' <br> | '''คำแนะนำ''' <br> | ||
− | :::1. เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย | + | :::1. เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=Pnjej4rxx8I|link=https://www.youtube.com/watch?v=Pnjej4rxx8I]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=Pnjej4rxx8I มะเม่า] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:antidesma1.png]] [[ไฟล์:antidesma2.png]] [[ไฟล์:antidesma3.png]] [[ไฟล์:antidesma4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:antidesma1.png]] [[ไฟล์:antidesma2.png]] [[ไฟล์:antidesma3.png]] [[ไฟล์:antidesma4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:13, 8 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : PHYLLANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma puncticulatum Miq.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หมากเม้า, บ่าเหม้า, หมากเม่า, มะเม่า, ต้นเม่า, เม่า, เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ, มะเม่าไฟ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 5 - 10 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจังหวัดกาญจนบุรีจะมีต้นมะเม่าในป่าเป็นจำนวนมาก และมะเม่ายังเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน ในเทือกเขาภูพานของจังหวัดสกลนครอีกด้วย
ใบ : จัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงเยื้องสลับบนกิ่ง ใบมีลักษณะป้อม และรี ปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ และเป็นมันเล็กน้อย แผ่นใบมีสีเขียวสด
ดอก : ออกเป็นช่อยาวบริเวณปลายกิ่ง คล้ายช่อดอกพริกไทย บนช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะสีครีม ดอกเพศผู้มีทั้งแยกอยู่คนละต้นกับดอกเพศเมีย และอยู่ต้นเดียวกันกับดอกเพศเมีย เมื่อดอกมีการผสมเกสรแล้วดอกจะร่วง คงเหลือเฉพาะผลขนาดเล็ก ดอกออกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และผลจะทยอยสุกต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน
ผล : มีรูปร่างกลม มีขนาดผลประมาณผลพริกไท รวมกลุ่มออกบนช่อ ยาว 10 - 15 ซม. ย้อยลงมาตามกิ่งก้าน ผลดิบสีเขียว มีรสเปรี้ยวอมฝาด และค่อยเปลี่ยนเป็นเหลืองอมแดง มีรสเปรี้ยวจัด เมื่อสุกผลเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย และเป็นสีดำเมื่อสุกจัด มีรสหวานอมเปรี้ยว เปลือกผล และเนื้อผลค่อนข้างบาง ภายในเป็นเมล็ด แข็งเล็กน้อย แต่สามารถเคี้ยวรับประทานได้
การขยายพันธุ์ : มะเม่าตามธรรมชาติจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้น การปลูกมะเม่าในปัจจุบันจึงยังนิยมวิธีขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นสำคัญ แต่ก็เริ่มนิยมขยายพันธุ์ด้วยอื่นมากขึ้นเพื่อให้ได้ต้นที่มีขนาดเล็ก และให้ผลดกเหมือนต้นแม่ เช่น การตอนกิ่ง และการเสียบยอด
สรรพคุณ
- 1. ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย
- 2. รสฝาดของผลมะเม่าสุก จะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย
- 3. รสขมของมะเม่าจะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้
- 4. ทั้งห้าส่วนของมะเม่าใช้ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะได้ (ผล, ราก, ต้น, ใบ, ดอก)
- 5. น้ำมะเม่าสกัดเข้มข้นใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ดีเหมือนน้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- 6. มะเม่ามีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย
- 7. ช่วยบำรุงสายตา (ผลสุก)
- 8. ช่วยแก้กษัย (ต้น, ราก)
- 9. ช่วยขับโลหิต (ต้น, ราก)
- 10. มะเม่ามีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผลสุก)
- 11. มีสรรพคุณทางยาช่วยขับเสมหะ (ผลสุก)
- 12. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ผลสุก)
- 13. ช่วยขับปัสสาวะ (ต้น, ราก)
- 14. ช่วยแก้มดลูกพิการ (ต้น, ราก)
- 15. ช่วยแก้มดลูกอักเสบช้ำบวม (ต้น, ราก)
- 16. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (ต้น, ราก)
- 17. ช่วยขับน้ำคาวปลา (ต้น, ราก)
- 18. ช่วยบำรุงไต (ต้น, ราก)
- 19. ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ (ต้น, ราก)
- 20. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ต้น, ราก)
- 21. ใบมะเม่านำไปอังไฟแล้วนำมาประคบใช้รักษาอาการฟกช้ำดำเขียวได้ (ใบ)
- 22. ใบสดนำมาตำใช้พอกรักษาแผลฝีหนองได้ (ใบ)
ประโยชน์
- 1. ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ หรือจะนำมาทำเป็นส้มตำมะเม่าก็ได้เช่นกัน
- 2. ยอดอ่อนของมะเม่าใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
- 3. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น แยม น้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นไวน์เกรดคุณภาพสูง เป็นต้น
- 4. น้ำหมากเม่าหรือน้ำคั้นที่มาจากผลมะเม่าสุกสามารถนำไปทำสีผสมอาหารได้ โดยจะให้สีม่วงเข้ม แถมยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
- 5. เนื้อไม้ของต้นมะเม่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
- 6. พระสงฆ์ในแถบเทือกเขาภูพานใช้เป็นน้ำปาณะมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
- 7. ประโยชน์ของมะเม่าอย่างอื่นก็เช่น การปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มไม้ เป็นต้น
คำแนะนำ
- 1. เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย
- 1. เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> มะเม่า <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/08/หมากเม่าหลวง.jpg
http://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Antidesma_bunius1.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-166890-2.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/05/ดอกหมากเม่า.jpg
https://static.naewna.com/uploads/files2017/images/J7025099-1.jpg