ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังคุด"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "มังคุด" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 63: | แถว 63: | ||
:::4. ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ โดยมีการทดลองในสัตว์ที่พบว่ามังคุดอาจส่งผลให้อาการของโรคลำไส้อักเสบรุนแรงขึ้นได้ | :::4. ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ โดยมีการทดลองในสัตว์ที่พบว่ามังคุดอาจส่งผลให้อาการของโรคลำไส้อักเสบรุนแรงขึ้นได้ | ||
:::5. ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด | :::5. ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด | ||
− | :::6. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาที่ทำปฏิกิริยาต่อไซโตโครมพี 450 (Cytochrome P450) และยาในกลุ่มแคลซินูรินอินฮิบิเตอร์อย่างไซโคลสปอรินและทาโครลิมัส เป็นต้น | + | :::6. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาที่ทำปฏิกิริยาต่อไซโตโครมพี 450 (Cytochrome P450) และยาในกลุ่มแคลซินูรินอินฮิบิเตอร์อย่างไซโคลสปอรินและทาโครลิมัส เป็นต้น <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=PQtnNGWM-jM|link=https://www.youtube.com/watch?v=PQtnNGWM-jM]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=PQtnNGWM-jM มังคุด] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:mangosteen1.png]] [[ไฟล์:mangosteen2.png]] [[ไฟล์:mangosteen3.png]] [[ไฟล์:mangosteen4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:mangosteen1.png]] [[ไฟล์:mangosteen2.png]] [[ไฟล์:mangosteen3.png]] [[ไฟล์:mangosteen4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:21, 8 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : CLUSIACEAE หรือ GUTTIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Garcinia × mangostana L.
ชื่อสามัญ : Mangosteen
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : มังคุดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นทรงกลม สูงประมาณ 7 - 25 เมตร แตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น มีทรงพุ่มแบบกรวยคว่ำหรือแบบพีระมิด เปลือกลำต้นมีสีดำ มีทรงพุ่มหนาทึบ ส่วนรากจะประกอบด้วยรากแก้ว และรากแขนง ซึ่งมีระบบรากค่อนข้างลึก ประมาณ 70 - 120 เซนติเมตร ดังนั้น มังคุดที่โตเต็มที่จึงสามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ไม่พลัดใบ ออกใบดก เขียวตลอดทั้งปี ใบแทงออกตามกิ่งตรงข้ามกัน ใบมีลักษณะเป็นวงรีหรือรูปไข่ กว้าง 6 - 12 เซนติเมตร ยาว 15 - 25 เซนติเมตร ใบมีลักษณะค่อนข้างหนา เป็นมัน เนื้อใบเหนียวคล้ายหนังสัตว์ ใบมีสีเขียวถึงเขียวอมเหลือง ใบมียางสีเหลือง
ดอก : ออกเป็นคู่หรือเดี่ยว แทงออกตามซอกใบบริเวณปลายกิ่ง ซึ่งจะออกจากกิ่งที่มีอายุตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ดอกมีกลีบแดงสีแดงฉ่ำ ทั้งนี้ มังคุดจะออกดอกได้เมื่อต้นผ่านเข้าหน้าแล้งได้ 20 - 30 วัน และหลังจากนั้น ได้รับน้ำกระตุ้นก็พร้อมที่จะออกดอก ระยะหลังจากแทงตาดอกถึงดอกบานใช้เวลาประมาณ 30 วัน
ผล : มีผลทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.2 - 7 เซนติเมตร เปลือกมังคุดหนาประมาณ 0.7 - 1.0 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีเขียว เขียวเข้ม เขียวอมม่วง สีม่วง และสีดำเมื่อสุกจัด เปลือกด้านนอกมีลักษณะแข็ง เป็นมัน เปลือกด้านในอ่อน มีสีม่วงแดง ถัดมาเป็นเนื้อผล มีลักษณะเป็นรอน 4 - 8 รอน แต่ละรอนห่อหุ้มเมล็ด 1 เมล็ด เนื้อผลมีสีขาว อ่อนนุ่มคล้ายวุ้น มีเส้น vein สีชมพูติดอยู่ ให้รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ทั้งนี้ ผลสามารถเก็บได้หลังดอกบานแล้ว 11 - 12 สัปดาห์
การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดเพาะปลูก เมล็ดควรมีขนาดใหญ่ สดและใหม่ ไม่ควรแกะเมล็ดจากผลทิ้งไว้เพราะจะทำให้เมล็ดงอกช้าหรือไม่งอกเลย ก่อนเพาะควรล้างเนื้อออกจากเมล็ดเสียก่อนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา ควรเพาะในที่ร่ม มีความชื้นสูง ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมล็ดจะงอกภายใน 3 - 4 สัปดาห์
สรรพคุณ
- 1. มีส่วนช่วยป้องกันอาการไข้ (ไข้ระดับต่ำ)
- 2. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- 3. ช่วยเพิ่มพลังงานแก่ร่างกาย เพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
- 4. มังคุดรักษาสิว เปลือกมังคุดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว และยังออกฤทธิ์ต้านสิวอักเสบได้ดีอีกด้วย
- 5. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้า ลดความเครียด
- 6. ช่วยป้องกันโรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน โรคเกี่ยวกับระบบประสาท
- 7. การรับประทานมังคุดเป็นประจำจะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพจิตดี อารมณ์ดีอยู่เสมอ
- 8. สารสกัดจากมังคุดช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวชนิดทีเอช 1 และทีเอช 17 มีฤทธิ์ช่วยกำจัดและป้องกันการก่อเกิดเซลล์มะเร็งเกือบทุกชนิดได้
- 9. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งชนิดต่าง ๆ อย่าง เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งตับ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร
- 10. ช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- 11. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับทางเดินหัวใจ
- 12. ช่วยลดความดันโลหิต
- 13. ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
- 14. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายและลดไขมันที่ไม่ดีในเส้นเลือด
- 15. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดเนื้องอกในร่างกาย
- 16. มีสวนช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน ด้วยคุณสมบัติในการลดและควบคุมระดับน้ำตาล
- 17. ช่วยป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้
- 18. มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการของโรคหอบหืด
- 19. มีส่วนช่วยบำรุงและรักษาสายตา
- 20. ช่วยบำรุงสุขภาพช่องปากและเหงือกให้แข็งแรง
- 21. ช่วยรักษาและสมานแผลในช่องปากหรือปากแตกให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- 22. ไฟเบอร์จากมังคุดช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก
- 23. ช่วยบำรุงและฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร ด้วยการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของอาการท้องร่วง จุกเสียด เกิดแก๊สในกระเพาะและการดูดซึมอาหารบกพร่อง
- 24. ช่วยแก้อาการท้องเสีย ด้วยการใช้เปลือกมังคุดตากแห้งต้มกับน้ำหรือย่างไฟ นำมาฝนกับน้ำปูนใส
- 25. ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง อาการถ่ายเป็นมูกเลือด ด้วยการใช้เปลือกสดหรือแห้งฝนกับน้ำรับประทาน หรือจะใช้เปลือกแห้งนำมาต้มกับน้ำดื่มก็ได้ผลเหมือนกัน
- 26. ช่วยให้ระบบทางเดินปัสสาวะอยู่ในสภาวะปกติ
- 27. ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่วในไต
- 28. มีส่วนช่วยป้องกันอาการตับเสื่อม ไตวาย
- 29. ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ
- 30. เปลือกของมังคุดมีสารแทนนินที่มีฤทธิ์ฝาดสมาน ทำให้แผลหายเร็ว
- 31. ช่วยต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เชื้อรา เชื้อจุลินทรีย์ และไวรัสต่าง ๆ อย่างเชื้อวัณโรค เชื้อ HIV เป็นต้น
- 32. ช่วยลดอาการอักเสบและมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง (เปลือก)
- 33. ช่วยยับยั้งการเกิดและใช้รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ อย่าง กลากเกลื้อน ผดผื่นคันต่าง ๆ ด้วยการใช้เปลือกมังคุดแห้งต้มน้ำอาบ หรือใช้น้ำต้มเปลือกมาทาบริเวณที่เป็น
- 34. ใช้รักษาอาการน้ำกัดเท้า แผลเปื่อย ด้วยการใช้เปลือกแห้งฝนกับน้ำปูนใส
ประโยชน์
- 1. รับประทานสดเป็นผลไม้หรือทำเป็นน้ำผลไม้อย่าง น้ำมังคุดและน้ำเปลือกมังคุด
- 2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและการเกิดริ้วรอย
- 3. มีฤทธิ์ในการจับอนุมูลอิสระต่าง ๆ ได้มากกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ
- 4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส แข็งแรง
- 5. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิต้านทานให้แข็งแรง
- 6. ช่วยลดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์
- 7. เปลือกมังคุดมีสารช่วยป้องกันเชื้อราจึงเหมาะแก่การหมักปุ๋ย
- 8. นำมาประกอบอาหารทั้งคาวและหวาน เช่น แกง ยำ มังคุดลอยแก้ว ซอสมังคุด เป็นต้น
- 9. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง มังคุดกวน แยมมังคุด มังคุดแช่อิ่ม ทอฟฟี่มังคุด
- 10. มังคุดมีสารจีเอ็ม-1 ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สำหรับผู้มีปัญหาสภาพผิวเรื้อรังจากสิวและอาการแพ้
- 11. นำมาแปรรูปเป็นสบู่เปลือกมังคุด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยดับกลิ่นเต่า รักษาสิวฝ้า บรรเทาอาการของโรคผิวหนัง
คำแนะนำ
- 1. ผู้ป่วยภาวะเลือดออกผิดปกติ เนื่องจากมังคุดอาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า
- 2. ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดรับประทานมังคุดเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะอาจส่งผลให้เลือดแข็งตัวช้า
- 3. ผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมังคุดมีปริมาณน้ำตาลสูง
- 4. ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบ โดยมีการทดลองในสัตว์ที่พบว่ามังคุดอาจส่งผลให้อาการของโรคลำไส้อักเสบรุนแรงขึ้นได้
- 5. ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด
- 6. ผู้ที่รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาที่ทำปฏิกิริยาต่อไซโตโครมพี 450 (Cytochrome P450) และยาในกลุ่มแคลซินูรินอินฮิบิเตอร์อย่างไซโคลสปอรินและทาโครลิมัส เป็นต้น
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> มังคุด <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/75819-1024x768.jpg
http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/10/J8382776/J8382776-15.jpg
http://www.thaikasetsart.com/wp-content/uploads/2012/03/kaset3.jpg
http://www.vigothailand.com/uppic/images/690P1050117.jpg
https://farmerspace.co/wp-content/uploads/2018/09/mangoesteen-02.jpg