ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูกซัด"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "ลูกซัด" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 45: | แถว 45: | ||
:::5. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือด เช่น กระเทียม หรือแปะก๊วย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ | :::5. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือด เช่น กระเทียม หรือแปะก๊วย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ | ||
:::6. ลูกซัดอาจส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน เรอ มีแก๊สในช่องท้อง หรือปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายเมเปิลไซรัป | :::6. ลูกซัดอาจส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน เรอ มีแก๊สในช่องท้อง หรือปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายเมเปิลไซรัป | ||
− | :::7. ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากลูกซัดมีผลลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่า สารสกัดน้ำ 95% เอทานอล และเมทานอลจากเมล็ด มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูที่กำลังตั้งท้อง ดังนั้น อาจมีผลทำให้เกิดแท้งลูกได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้รวมถึงไม่ควรใช้ในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ | + | :::7. ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากลูกซัดมีผลลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่า สารสกัดน้ำ 95% เอทานอล และเมทานอลจากเมล็ด มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูที่กำลังตั้งท้อง ดังนั้น อาจมีผลทำให้เกิดแท้งลูกได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้รวมถึงไม่ควรใช้ในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=1tGGIJa73GA|link=https://www.youtube.com/watch?v=1tGGIJa73GA]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=1tGGIJa73GA ลูกซัด] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:methi1.png]] [[ไฟล์:methi2.png]] [[ไฟล์:methi3.png]] [[ไฟล์:methi4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:methi1.png]] [[ไฟล์:methi2.png]] [[ไฟล์:methi3.png]] [[ไฟล์:methi4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:32, 8 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : LEGUMINOSAE (FABACEAE) - PAPILIONIODEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonella foenum-graecum L.
ชื่อสามัญ : Fenugreek , Methi
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 60 ซม. รากแก้วขนาดใหญ่ใบประกอบแบบขนนก
ใบ : มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ หูใบขนาดเล็ก ก้านใบยาว 1 - 4 หรือ 1-6 ซม. แกนกลางสั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือขอบขนาด กว้าง 0.5 - 2 ซม. ยาว 1.5 - 4 ซม.
ดอก : ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ยาว 1 - 1.5 ซม
ผล : ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 5 - 19 ซม. ผิวเกลี้ยง ในฝักมีเมล็ด 10 - 20 เมล็ด เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองทอง เมล็ดมีขนาดเล็ก ขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร มีร่องตรงกลางเมล็ด มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว เมล็ดมีรสฝาด มีกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และการปักชำ โดยมีวิธีการเพาะเมล็ดและใช้กิ่งปักชำ
สรรพคุณ
- 1. เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยบางชิ้นได้พบว่าการบริโภคเมล็ดลูกซัดร่วม/ผสมกับอาหารจะลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ลง อย่างไรก็ตามการทานเมล็ดลูกซัดเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันในปริมาณ 5 - 50 กรัมเท่านั้นที่อาจจะได้ผล ปริมาณที่น้อยกว่า 2.5 กรัมอาจไม่แสดงผลลัพธ์ใด ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1 การทานผงจากเมล็ดลูกซัด 50 กรัมสองครั้งต่อวันอาจสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะได้
- 2. ปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) การทานผงเมล็ดลูกซัด 1800 - 2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงที่ประจำเดือนหยุดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดในผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือนได้ ซึ่งหมายความว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดลง
- 3. แสบร้อนกลางอก (Heartburn) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์จากลูกซัดชนิดหนึ่ง (FenuLife, Frutarom Belgium) ก่อนรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวันสองมื้อจะลดอาการแสบร้อนกลางอกได้
- 4. คอเลสเตอรอลสูง มีข้อสรุปจากการศึกษาเรื่องของผลกระทบจากลูกซัดกับระดับคอเลสเตอรอลที่แย้งกันอยู่บ้าง พบว่าการรับประทานเมล็ดลูกซัดจะลดระดับไขมันความหนาแน่นไลโพโปรตีนต่ำ (low-density lipoprotein (LDL หรือไขมันไม่ดี) แต่ผลกระทบกับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นไลโพโปรตีนสูง (HDL หรือไขมันดี) และไตรกลีเซอร์ไรด์ยังคงไม่สอดคล้องกัน
- 5. กระบวนการผลิตน้ำนม มีรายงานว่าการทานแคปซูลหรือดื่มชาลูกซัดทันทีหลังคลอดจะเพิ่มการผลิตน้ำนมของมารดาขึ้น ลูกซัดยังอาจช่วยกระบวนการนี้มากขึ้นหากเริ่มทานหลังคลอดหนึ่งหรือสองวัน แต่ก็ไม่ใช่การศึกษาทุกชิ้นจะเห็นพ้องเช่นนี้เนื่องจากมีรายงานแย้งว่าการทานลูกซัดจะให้ผลดีน้อยลงเมื่อทานหูเสือ (Indian borage) หรืออินทผลัม (palm date)
- 6. ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย (Male infertility) งานวิจัยกล่าวว่าหยดน้ำมันลูกซัดเข้าปากสามครั้งต่อวันนาน 4 เดือนจะเพิ่มจำนวนสเปิร์มของผู้ชายที่มีปัญหาความเข้มข้นของน้ำเชื้อต่ำได้ แต่การทานส่วนอื่น ๆ จากเมล็ดลูกซัดอาจไม่ได้ให้สรรพคุณเช่นนี้
- 7. ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดสามารถลดปริมาณการบริโภคไขมันของผู้ที่มีน้ำหนักเกินได้เมื่อรับประทานในปริมาณ 392 mg สามครั้งต่อวันนาน 2 - 6 สัปดาห์ แต่หากเป็นปริมาณน้อยกว่านี้จะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ การเพิ่มกากใยอาหารลูกซัดในอาหารเช้า 8 กรัมอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มและลดความหิวในมื้อเที่ยงไดด้วย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการทำเช่นนี้จะช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่
- 8. โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยพบว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Indus Biotech Private Limited) สองครั้งต่อวันนาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยลดอาการของผู้ป่วยพากินสัน
- 9. โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) มีข้อมูลเรื่องผลลัพธ์จากการทานลูกซัดกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Goldarou Pharmaceutical Co.) ทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่ยลดอาการของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่งานวิจัยชิ้นอื่น ๆ กลับกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Furocyst, Cepham Inc.) 1000 mg ทุกวันอาจช่วยลดขนาดของถุงน้ำรังไข่ได้ และช่วยควบคุมความยาวของรอบเดือนและช่วงเวลาของประจำเดือนแต่ละรอบได้ด้วย
- 10. หัวล้าน
- 11. มะเร็ง
- 12. ปากแตก
- 13. อาการไอเรื้อรัง
- 14. ท้องผูก
- 15. โรคผิวหนัง (Eczema)
- 16. ไข้
- 17. เก๊าท์ (Gout)
- 18. “หลอดเลือดแดงแข็งตัว” (atherosclerosis)
- 19. ไส้เลื่อน (Hernias)
- 20. โรคไต
- 21. แผลในปาก
- 22. ปัญหาทางเพศ (เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ)
- 23. ปวดท้อง
ประโยชน์
- 1. เมล็ดลูกซัดถูกใช้ประกอบอาหาร
- 2. ใช้ทำยา
- 3. ใช้กลบรสชาติของยาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากลูกซัดเป็นเมล็ดที่มีกลิ่นแรงและมีรสชาติคล้ายกับไซรัปเมเปิ้ล อีกทั้งใบจากต้นลูกซัดเองก็สามารถรับประทานเป็นผักได้อีกด้วย
คำแนะนำ
- 1. ไม่แนะนำให้คนที่แพ้อาหารประเภทถั่วทานลูกซัด เพราะถั่วลูกซัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ถึงแม้จะจัดเป็นเครื่องเทศก็ตาม
- 2. หญิงมีครรภ์ไม่ควรทานถั่วลูกซัด เพราะถั่วลูกซัดอาจเข้าไปกระตุ้นการหดตัวของมดลูกได้
- 3. ควรระวังการใช้ลูกซัดร่วมกับยารักษาเบาหวาน เช่น ยาในกลุ่ม sulfonylureas ได้แก่ chlorpropamide, glibencamide, glipizide, gliclazide, gliquidone และ glimepiride เพราะลูกซัดอาจไปเสริมฤทธิ์ของยา
- 4. อาจมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานลูกซัด ควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- 5. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือด เช่น กระเทียม หรือแปะก๊วย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้
- 6. ลูกซัดอาจส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน เรอ มีแก๊สในช่องท้อง หรือปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายเมเปิลไซรัป
- 7. ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากลูกซัดมีผลลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่า สารสกัดน้ำ 95% เอทานอล และเมทานอลจากเมล็ด มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูที่กำลังตั้งท้อง ดังนั้น อาจมีผลทำให้เกิดแท้งลูกได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้รวมถึงไม่ควรใช้ในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ลูกซัด <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://f.btwcdn.com/store-9082/product/18ac4bf0-34c8-7ee5-3311-5c08a5ff6826.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/fenugreek-greenforage.jpg
https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2017/01/Aesthetic_bunch_of_fenugreek_greens.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/shanbalileh.jpg
https://www.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5FZYSpOQlX8GAGIBv6TJGeyrPPPfgvTrToeVIca0dhyQVOvgZNdgT3.jpg