ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมอไทย"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "สมอไทย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระ...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 82: | แถว 82: | ||
:::2. ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก | :::2. ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก | ||
:::3. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า | :::3. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า | ||
− | :::4. ผลสุก 5 - 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง | + | :::4. ผลสุก 5 - 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=7823k8DXYAg|link=https://www.youtube.com/watch?v=7823k8DXYAg]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=7823k8DXYAg สมอไทย] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:chebulic1.png]] [[ไฟล์:chebulic2.png]] [[ไฟล์:chebulic3.png]] [[ไฟล์:chebulic4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:chebulic1.png]] [[ไฟล์:chebulic2.png]] [[ไฟล์:chebulic3.png]] [[ไฟล์:chebulic4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:41, 8 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.
ชื่อสามัญ : Chebulic Myrobalans, Myrolan Wood
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หมากแน่ะ, ม่าแน่, สมออัพยา, ลูกสมอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ประเภทไม้ผลัดใบ มีลำต้นสูงประมาณ 10 - 15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง มีทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นมีรูปร่างไม่สมมาตร มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดแผ่นใหญ่ และมีร่องลลึก สีดำอมเทา ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองอมน้ำตาลบริเวณด้านนอก และด้านในมีสีน้ำตาลอมดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้ดี
ใบ : เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงเยื้องสลับข้างกันบริเวณปลายของกิ่งแขนง มีก้านใบยาว 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างรี โคนใบ และปลายใบมน ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างมีสีจางกว่า แผ่นใบค่อนข้างหนา และเรียบ มีขนขึ้นปกคลุม ทั้งนี้ สมอไทยจะเริ่มผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และเริ่มแตกใบอ่อนในช่วงเดือนเมษายน
ดอก : ดอกสมอไทยแทงออกเป็นช่อบนปลายกิ่งแขนง แต่ละปลายกิ่งมีช่อดอกประมาณ 3 - 5 ช่อ ปลายช่อห้อยลงด้านล่าง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 10 - 20 ดอก ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็ก 3 - 5 มิลลิเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ด้านในดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน และมีรังไข่อยู่ด้านล่างตรงฐานดอก แบ่งเป็น 2 ช่อง โดยดอกสมอไทยจะเริ่มออกดอกหลังการแตกใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม
ผล : มีลักษณะรูปไข่หรือค่อนข้างกลม ผิวผลไม่สมมาตรนัก ขนาดผล 2 - 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยส่วนเปลือก และเนื้อผลเป็นส่วนเดียวกัน เนื้อค่อนหนา และแข็ง แต่กรอบ ให้รสเปรี้ยวอมฝาด เปลือกผลขณะอ่อนมีสีเขียวสด เมื่อผลเริ่มแก่จะมีสีแดงเรื่อปะ ผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างค่อนข้างกลม เปลือกเมล็ดหนา มีสีเหลืองน้ำตาล โดยผลสมอไทยจะเริ่มติดในช่วงเดือนมิถุนายน และผลจะแก่มีสีเขียว และมีสีแดงเรื่อปะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
การขยายพันธุ์ : สามารถปลูกได้ด้วยการเพาะเมล็ด ส่วนวิธีการอื่นมักไม่ได้ผล เพราะต้นเสมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง ทำให้การตอนหรือการปักชำไม่ได้ผลมากนัก
สรรพคุณ
- 1. ลูกสมอช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง (ผลรสเค็ม)
- 2. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและช่วยบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด
- 3. ช่วยให้เจริญอาหาร (เมล็ด)
- 4. ช่วยบำรุงกำลัง (ผลรสหวาน)
- 5. แก้อาการอ่อนเพลีย (ผลแก่นำมาดองกับน้ำมูตรโคดื่มบรรเทาอาการ)
- 6. ช่วยบำรุงร่างกาย (ผลแก่)
- 7. ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
- 8. ช่วยฟอกโลหิต (ผลรสเปรี้ยว)
- 9. ช่วยแก้กระหาย (ผลรสเปรี้ยว)
- 10. ช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับสบาย (ผลรสเค็ม)
- 11. แก้อาการนอนสะดุ้ง (ผลแก่)
- 12. ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกที่เป็นแผล
- 13. ช่วยสมานแผลในช่องปาก (ผลรสฝาด)
- 14. ช่วยควบคุมธาตุในตัว (ผล)
- 15. ช่วยแก้พิษร้อนใน (ผล)
- 16. ช่วยแก้ไข้ (ผลรสขม)
- 17. แก้เจ็บคอ (ผลแก่) หรือจะใช้เนื้อผลรสฝาดทำเป็นยาชงใช้อมกลั้วคอแก้อาการก็ได้เช่นกัน
- 18. ช่วยแก้อาการไอ (ผลรสเปรี้ยว)
- 19. แก้อาการหืดไอ (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 20. แก้อาการสะอึก (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 21. ช่วยแก้อาเจียน (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 22. ช่วยกัดเสมหะ (ผลรสเปรี้ยว)
- 23. ช่วยขับเสมหะ (ผลอ่อน)
- 24. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (ผลแก่)
- 25. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายให้คล่องตัว และเป็นยาระงับการถ่าย คือรู้ปิดรู้เปิดไปในตัว (ผล)
- 26. ช่วยย่อยอาหาร (ผลรสขม)
- 27. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (เนื้อลูกสมอรสฝาดเปรี้ยว)
- 28. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผลรสฝาด)
- 29. ช่วยขับลมในลำไส้ (ผลอ่อน)
- 30. ผลแก่ช่วยแก้ลม จุกเสียด (ผลแก่)
- 31. ช่วยแก้อาการบิด (ผลรสฝาด)
- 32. ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 33. ช่วยแก้โลหิตในท้อง (ผลอ่อน)
- 34. ช่วยรักษาโรคท้องผูกและอาการท้องผูกเรื้อรัง (ผลรสเปรี้ยว)
- 35. ช่วยแก้โรคท้องมาน (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 36. ช่วยในการขับถ่าย (ผลรสฝาด)
- 37. ช่วยชำระล้างเมือกมันในลำไส้ (ผลรสเปรี้ยว)
- 38. ช่วยสมานแผลในกระเพาะลำไส้ (ผลรสฝาด)
- 39. ช่วยแก้ขัด (เยื่อหุ้มเมล็ด)
- 40. ช่วยขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
- 41. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผลรสเค็ม)
- 42. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่ปกติ (ผลรสเปรี้ยว)
- 43. ช่วยแก้ลมป่วง (ผล)
- 44. แก้ดีพลุ่ง (ผลแก่)
- 45. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผลรสขม,ใบ)
- 46. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี (เยื่อหุ้มเมล็ด)
- 47. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
- 48. ช่วยแก้ประดงน้ำเหลืองเสีย (ผลรสเค็ม)
- 49. ช่วยแก้ตับม้ามโต (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
- 50. ช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ (ผลแก่นำมาดองกับน้ำมูตรโคดื่มบรรเทาอาการ)
- 51. ช่วยถอนพิษผิดสำแดง (ผลรสขม)
- 52. ผลแก่ใช้เป็นยาฝาดสมาน
- 53. ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการนำผลแก่มาบดให้เป็นผงแล้วนำมาโรยใส่แผล (ผลแก่)
- 54. ช่วยแก้พิษฝี (ผลรสเค็ม)
- 55. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผลรสเค็ม)
- 56. ช่วยแก้พยาธิต่าง ๆ (ผลรสเค็ม)
- 57. สมอไทยจัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร "พิกัดตรีผลา" "พิกัดตรีสมอ" "พิกัดตรีฉันทลามก"
- 58. ลูกสมอ ประโยชน์ผลดิบใช้รับประทานเป็นผลไม้สด หรือนำไปดองเกลือก็ได้ ส่วนผลห่ามสามารถนำไปจิ้มน้ำพริกกินได้ (ผล)
- 59. ผลใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังและใช้ทำหมึก (ผล)
ประโยชน์
- 1. ผลสมอไทยนำมาทานสดหรือจิ้มกับพริกน้ำปลา ให้รสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน
- 2. ผลสมอไทยนำมาทำสมอไทยดอง หรือ สมอไทยแช่อิ่มรับประทาน
- 3. เปลือกลำต้นใช้มีดถากนำมาย้อมผ้า ย้อมแห ให้สีดำอมแดงเรื่อ
- 4. ใบสมอไทย นำมาต้มย้อมผ้า ใบอ่อนให้สีเขียวขี้ม้า ใบแก่ที่เหลืองแล้วให้สีเหลืองอมน้ำตาล
- 5. ใบอ่อน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากแห้ง ก่อนนำมาชงเป็นชาดื่ม หรือ ใช้มวนเป็นยาสูบผสมกับใบพืชชนิดอื่น
- 6. ไม้สมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมเลื่อยแปรรูปเป็นเสาบ้าน แผ่นไม้ปูบ้าน ทำประตูวงกบ รวมถึงทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
- 7. กิ่งไม้ใช้ทำฟืน
คำแนะนำ
- 1. ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ
- 2. ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก
- 3. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า
- 4. ผลสุก 5 - 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> สมอไทย <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://www.caherbal.com/wp-content/uploads/2016/11/สมอไทย-ราชาสมุนไพร-ป้องกันมะเร็ง.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/223640.jpg
https://f.ptcdn.info/413/014/000/1389586579-1JPG-o.jpg
http://www.fca16mr.com/upload/files/technical/สมอไทย%202.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2017/12/2-10.jpg