ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอมแดง"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 1: | แถว 1: | ||
[[ไฟล์:shallot.png|right]] | [[ไฟล์:shallot.png|right]] | ||
− | |||
'''วงศ์''' : AMARYLLIDACEAE <br> | '''วงศ์''' : AMARYLLIDACEAE <br> | ||
'''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Allium ascalonicum L.'' <br> | '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Allium ascalonicum L.'' <br> | ||
แถว 71: | แถว 70: | ||
:::1. เนื่องจากน้ำมันหอมแดงมีสารกำมะถันสูง จึงทำให้แสบตา เป็นพิษต่อผิวหนังโดยทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง จึงควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวที่บอบบาง | :::1. เนื่องจากน้ำมันหอมแดงมีสารกำมะถันสูง จึงทำให้แสบตา เป็นพิษต่อผิวหนังโดยทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง จึงควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวที่บอบบาง | ||
:::2. การรับประทานหอมแดงมากเกินไป อาจทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว และมีอาการหลงลืมง่าย ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า | :::2. การรับประทานหอมแดงมากเกินไป อาจทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว และมีอาการหลงลืมง่าย ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า | ||
− | :::3. หอมแดงอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงหอมแดงหากคุณมีเลือดออกผิดปกติ นอกจากนี้หลีกเลี่ยงหอมแดงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด | + | :::3. หอมแดงอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงหอมแดงหากคุณมีเลือดออกผิดปกติ นอกจากนี้หลีกเลี่ยงหอมแดงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=DEZyHrD3Fzc&t=46s|link=https://www.youtube.com/watch?v=DEZyHrD3Fzc&t=46s]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=DEZyHrD3Fzc&t=46s หอมแดง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:shallot1.png]] [[ไฟล์:shallot2.png]] [[ไฟล์:shallot3.png]] [[ไฟล์:shallot4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:shallot1.png]] [[ไฟล์:shallot2.png]] [[ไฟล์:shallot3.png]] [[ไฟล์:shallot4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 08:55, 9 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : AMARYLLIDACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Allium ascalonicum L.
ชื่อสามัญ : Shallot
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักบั่ว, หอมหัวขาว, หอมบัว, หอมปั่ว, หอมแกง, หอมไทย, หอมเล็ก, หอมหัว, หอมแกง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน ลำต้นสั้นมีลักษณะทรงกลม ลำต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบๆ มีสีเขียวอ่อน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ อยู่เป็นกระจุก ใบเป็นท่อยาว ใบมีลักษณะดาบยาวรี ปลายแหลม ใบกลมข้างในกลวง โคนใบเป็นกาบใบสีขาว ออกหุ้มสลับซ้อนกันอยู่ ตรงโคนลำต้น ใบมีสีเขียว มีรสชาติเผ็ดร้อน มีกลิ่นฉุนแรง
ดอก : ออกเป็นช่อ แทงออกมาจากตรงกลางลำต้น ก้านช่อดอกยาวกลมข้างในกลวง ดอกมีลักษณะแบบซี่ร่ม ทรงกลมแล้วจะบานออก มีดอกย่อยเล็กๆอยู่บนก้านจำนวนมาก กลีบดอกมีสีขาว มีกลิ่นหอม ก้านมีสีเขียว มีรสชาติหวานกรอบ
ผล : มีลักษณะกลมๆ ผลแก่จะแตกออก มีเมล็ดอยู่ข้างในผล เมื่อผลแก่แตกออกได้ มีเมล็ดอยู่ข้างใน เมล็ดมีลักษณะทรงรีเล็กๆ ผิวเรียบ มีสีดำ
การขยายพันธุ์ : หอมแดงเจริญได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญได้ดี การปลูกโดยใช้เมล็ด และใช้หัวจะนิยมมากกว่า ปลูกลงในแปลงดินที่เตรียมไว้ ปลูกให้ระยะห่างประมาณ 15 × 15 ซม. แล้วรดน้ำให้เพียงพอ
สรรพคุณ
- 1. ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น
- 2. หอมแดงช่วยทำให้เจริญอาหาร (ผล,ใบ)
- 3. ร่างกายซูบผอม แก้ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 5 - 10 กรัมนำมาต้มน้ำดื่ม
- 4. มีส่วนช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้ความจำดีขึ้น
- 5. ช่วยบำรุงโลหิต
- 6. ช่วยบำรุงหัวใจ
- 7. ช่วยเจริญธาตุไฟ
- 8. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
- 9. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตให้ดีขึ้น
- 10. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด ตาลาย เป็นลม
- 11. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- 12. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
- 13. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- 14. ช่วยกำจัดไขมันเลว (LDL) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคหัวใจวายและอัมพฤกษ์ อัมพาต และยังรักษาระดับไขมันชนิดดี (HDL) ได้อีกด้วย
- 15. ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุมาจากโรคหัวใจและโรคความดันโลหิต
- 16. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- 17. ช่วยยับยั้งการเกิดโรคเส้นเลือดอุดตัน
- 18. หอมแดงแก้หวัด คัดจมูกได้ (ผล,ใบ)
- 19. ช่วยแก้ไข้สันนิบาต
- 20. แก้ไข้อันบังเกิดแก่จักษุและทรวง
- 21. แก้โรคตา ขับเสมหะ
- 22. ช่วยขับเสมหะ
- 23. แก้โรคในช่องปาก
- 24. น้ำหัวหอมใช้หยอดหูแก้อาการปวดหูได้
- 25. ช่วยแก้กำเดา (ผล, ใบ)
- 26. ช่วยทำให้อาเจียน
- 27. หอมแดงมีสรรพคุณช่วยแก้อาการอาเจียนเป็นเลือด ด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 5 - 10 กรัมนำมาต้มน้ำดื่ม (เมล็ด)
- 28. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
- 29. ช่วยแก้อาการท้องเสีย
- 30. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
- 31. หอมแดงมีประโยชน์ใช้เป็นยาถ่าย
- 32. ช่วยในการย่อยอาหาร
- 33. ช่วยขับลมในลำไส้
- 34. ช่วยขับปัสสาวะ
- 35. ช่วยแก้ลมพรรดึก
- 36. ช่วยขับพยาธิ
- 37. ช่วยป้องกันการติดเชื้อ
- 38. ช่วยแก้อาการอักเสบต่าง ๆ
- 39. ช่วยรักษาแผล โดยการนำหอมแดงมาหั่นเป็นแว่น ๆ แล้วผสมกับน้ำมันมะพร้าวและเกลือ ต้มให้เดือดแล้วนำมาพอกบริเวณแผล
- 40. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผล, ใบ)
- 41. หัวหอมแดงมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการคัน ด้วยการใช้หัวหอมนำมาบดผสมเหล้าเล็กน้อย นำไปพอกบริเวณที่คัน
- 42. ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด แมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้หอมแดงทุบให้บุบผสมกับยาหม่อง แล้วนำมาทาบริเวณที่โดนกัดและกินด้วย โดยทำทุก ๆ 5 นาทีประมาณ 3 - 4 ครั้งอาการจะดีขึ้น
- 43. กินแก้เนื้อสัตว์เป็นพิษด้วยการใช้เมล็ดแห้ง 5 - 10 กรัมนำมาต้มน้ำดื่ม (เมล็ด)
- 44. ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ
- 45. ช่วยแก้อาการเมาค้างจากเหล้า
- 46. แก้อาการสะอึก
- 47. หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ ด้วยการนำหอมแดงมาฝานเป็นแว่นบาง ๆ แล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น
- 48. หอมแดงแก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม
- 49. ในบ้านเรานิยมนำหอมแดงมาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องแกงเผ็ด น้ำพริกต่าง ๆ ซุปหางวัว ผสมใส่ไข่เจียว เป็นส่วนประกอบของหลน หรือฝานเป็นแว่น ๆ รับประทานร่วมกับแหนมสด เมี่ยง ปลาเค็ม และยังใช้เป็นส่วนประกอบของขนมหวาน อย่างเช่น ไข่ลูกเขย ขนมหม้อแกงถั่ว ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง เป็นต้น
- 50. มีส่วนช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
ประโยชน์
- 1. ซุปหอมแดงขิง เตรียมหอมแดง ขิงสด ตุ๋นส่วนประกอบทั้งสองชนิดลงในหม้อจนกว่าหอมแดงจะเปื่อย ใส่ผงปรุงรสลงไปเพื่อเพิ่มความอร่อย นำมาดื่มในช่วงเช้า และช่วงบ่าย การดื่มซุปน้ำร้อนๆ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและทำให้รู้สึกสดชื่นได้เป็นอย่างดี
- 2. ทูน่าผัดไข่ใส่หอมแดง เตรียมส่วนผสม ได้แก่ ทูน่า ไข่ไก่ หอมแดง กระเทียม พริกขี้หนู น้ำมันพืช เกลือ น้ำตาล และน้ำปลา เริ่มด้วยการปอกเปลือกกระเทียม หอมแดง ล้างให้สะอาด จากนั้นนำพริก หอมแดง กระเทียมมาสับให้หยาบ ตั้งน้ำมันในกระทะให้ร้อน เอากระเทียมหอมแดงสับหยาบใส่ลงไปผัดจนเริ่มกรอบแล้วตักขึ้นมา นำทูน่าลงไปคลุกกับน้ำมันที่ติดกระทะ ผัดสักครู่ จากนั้นตอกไข่ใส่ลงไป ผัดจนส่วนผสมทุกอย่างสุก ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงตามใจชอบ เทหอมแดงกับพริกที่เจียวลงไปผัดคลุกให้เข้ากัน ยกขึ้นเสิร์ฟได้เลย
- 3. หมูหวานปักษ์ใต้ เตรียมหอมแดง หมูสามชั้น ซีอิ๊วดำ ซอสปรุงรส และน้ำตาลปี๊ป เริ่มด้วยการหั่นหมูสามชั้นเป็นชิ้นเล็กๆ หั่นหอมแดง ตั้งกระทะให้น้ำมันร้อน ใส่หอมแดงลงไปผัด ใส่หมูสามชั้นลงไป ปรุงรสด้วยซีอิ๊วดำ น้ำตาลปี๊ป และซอสปรุงรส ตั้งไฟทิ้งไว้สักครู่จนน้ำแห้งและเครื่องปรุงเข้าเนื้อหมู ตักพร้อมเสิร์ฟ
- 4. ปลากระป๋องผัดหอมแดงทอด เตรียมส่วนผสมดังนี้ ปลากระป๋อง พริกชี้ฟ้า ซอสหอยนางรม น้ำปลา และหอมแดง เริ่มจากการหั่นหอมแดงเป็นแว่น ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันลงไป นำหอมแดงลงไปเจียวให้กรอบ เทปลากระป๋องใส่ลงไป ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย น้ำปลา ซอยพริกใส่ลงไป คนปลากระป๋องบ่อยๆ จากนั้นตั้งทิ้งไว้สักครู่ ตักใส่จาน รับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ
- 5. ใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร หากอยากทำปลานึ่งให้ปราศจากกลิ่นคาว แนะนำให้ลองบุบหอมแดงให้แตกแล้วยัดเข้าไปในตัวปลา เพื่อช่วยดับกลิ่นคาว การใส่หอมแดงลงไปในต้มส้มแกงไก่ ก็จะช่วยดับกลิ่นคาวจากไก่ได้เป็นอย่างดี ทำให้แกงมีกลิ่นหอม และมีรสชาติที่ดียิ่งขึ้น
คำแนะนำ
- 1. เนื่องจากน้ำมันหอมแดงมีสารกำมะถันสูง จึงทำให้แสบตา เป็นพิษต่อผิวหนังโดยทำให้ผิวเกิดการระคายเคือง จึงควรหลีกเลี่ยงการทาบริเวณผิวที่บอบบาง
- 2. การรับประทานหอมแดงมากเกินไป อาจทำให้ผมหงอก มีกลิ่นตัว และมีอาการหลงลืมง่าย ดังนั้น ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า
- 3. หอมแดงอาจชะลอการแข็งตัวของเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงหอมแดงหากคุณมีเลือดออกผิดปกติ นอกจากนี้หลีกเลี่ยงหอมแดงอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> หอมแดง <<<




แหล่งที่มาของภาพ
http://img.gangbeauty.com/uppic/2017-09/21/cc7c1d9d5.jpg
https://www.nanagarden.com/picture/product/400/258002.jpg
https://f.ptcdn.info/755/005/000/1370100318-P1120539JP-o.jpg
https://www.bloggang.com/data/iris-violet/picture/1254943801.jpg
https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2017/03/หอมแดง.jpg