บอระเพ็ด
วงศ์ : MENISPERMACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson
ชื่อสามัญ : Tinospora cordifolia
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : เจตมูลหนาม, ตัวเจตมูลยานหรือเถาหัวดำ, หางหนู, จุ่งจิง, เครือเขาฮอ, เถาหัวด้วน, หางหนู, จุ้งจาลิงตัวแม่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ไม่มีขน ยาวได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 2 เซนติเมตร เปลือกเถาหนา 1.5 - 2.5 มิลลิเมตร ผิวบอระเพ็ดเป็นสีน้ำตาล เนื้อในมีสีเทาแกมเหลือง เถามีลักษณะกลม ผิวเปลือกเถาขรุขระเป็นปุ่มกระจายไปทั่ว และเมื่อแก่จะเห็นปุ่มปมเหล่านี้หนาแน่นและชัดเจนมาก
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบบอระเพ็ดมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 8 - 10 เซนติเมตร
ดอก : จะออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ลักษณะดอกบอระเพ็ดมีสีเขียวอมเหลือง ดอกขนาดจิ๋ว
ผล : ผลรูปร่างค่อนข้างกลม มีสีเหลืองหรือสีแดง
การขยายพันธุ์ : ใช้เถาปักชำ
สรรพคุณ
- 1. บอระเพ็ดช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส หน้าตาสดชื่น (ใบ)
- 2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย
- 3. ประโยชน์ของบอระเพ็ด ช่วยให้ผมดกหนาขึ้นและอาการผมหงอก ผมร่วงก็จะลดน้อยลง ซึ่งจะได้ผลดีอย่างมากกับผู้ที่มีอาการผมหงอกก่อนวัย หากรับประทานผงบอระเพ็ดวันละ 600 mg. เป็นเวลา 1 เดือน
- 4. แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค ชันนะตุ
- 5. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ (เถา, ต้น)
- 6. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ต้น, ใบ)
- 7. บอระเพ็ดสรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น, ใบ) ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน / เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 - 3 เม็ด หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
- 8. ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทาน (ราก)
- 9. บอระเพ็ดลดความอ้วน (ใบ)
- 10. ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ราก)
- 11. สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน)
- 12. มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น)
- 13. แก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน)
- 14. ช่วยรักษาอาการโลหิตคั่งในสมอง (ใบ)
- 15. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, ต้น)
- 16. แก้อาการร้อนใน (เถา, ต้น)
- 17. สรรพคุณบอระเพ็ดช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก)
- 18. ช่วยขับเหงื่อ (เถา)
- 19. ช่วยฆ่าแมลงในหู (เถา)
- 20. แก้รำมะนาด (เถา)
- 21. แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้จับสั่น (ราก, ต้น, ใบ)
- 22. ใช้ถอนพิษไข้ (ราก)
- 23. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เถา, ผล) ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีต้มเคี่ยว (ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน) แบ่งครั้งละ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารวันละ 2 - 3 ครั้งเมื่อตอนมีไข้ หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้
- 24. แก้ไข้มาลาเรียด้วยการกินบอระเพ็ดวันละ 2 องคุลีทุกวัน (เถา)
- 25. แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ (ต้น)
- 26. แก้อาการแทรกซ้อนขณะเป็นไข้ทรพิษ (ต้น)
- 27. ช่วยให้เสียงไพเราะ (ใบ)
- 28. แก้อาการเสมหะเป็นพิษ (ผล)
- 29. ช่วยรักษาฟัน (ทุกส่วน)
- 30. แก้อาการปวดฟัน (เถา)
- 31. แก้สะอึก (ต้น, ผล)
- 32. แก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา
- 33. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก)
- 34. รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทุกส่วน)
- 35. รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ทุกส่วน)
- 36. แก้อาการมดลูกเสีย (ราก)
- 37. ช่วยบำรุงน้ำดี (เถา)
- 38. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
- 39. ช่วยฆ่าพยาธิไส้เดือน (เถา)
- 40. ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน และในหู (ดอก)
- 41. แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทุกส่วน)
- 42. แก้อาการเกร็ง (ทุกส่วน)
- 43. ดับพิษปวดแสบปวดร้อน (เถา)
- 44. ใช้ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส (เถา)
- 45. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เถา,ใบ)
- 46. รักษาผดผื่นตามร่างกาย (ใบ)
- 47. รักษาบาดทะยัก (ทุกส่วน)
- 48. แก้อาการปวดฝี (ใบ)
- 49. แก้พิษฝีดาษ (ต้น)
- 50. แก้ฝีมดลูด ฝีมุตกิด (ทุกส่วน)
- 51. นำมาแปรรูปเป็นบอระเพ็ดแคปซูล
ประโยชน์
- 1. บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ร้อนใน นำเถาสดของบอระเพ็ดขนาด 30 กรัมมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวกับน้ำอีก 3 ส่วนจนเหลือเพียง 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น จนกว่าจะหาย
- 2. บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ บอระเพ็ดที่บดละเอียดแล้ว สามารถนำมาผสมลงในแชมพูหรือครีมนวดผม เพื่อบรรเทาอาการคันศีรษะ และบรรเทาอาการจากโรคชันนะตุ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาผมแตกปลาย ตลอดจนผมขาดหลุดร่วงง่าย
- 3. รักษาโรคกระเพาะอาหาร ให้ใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน มะขามเปียก 7 ส่วน เกลือ 3 ส่วน และน้ำผึ้งพอสมควร นำมาคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมารับประทานแก้โรคกระเพาะ 3 มื้อก่อนอาหาร
- 4. รักษาฝี หนอง และแผลอักเสบ นำบอระเพ็ดมาโขลกหรือตำให้ละเอียด แล้วใช้พอกบริเวณรอยแผล จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบลงได้ อีกทั้งยังช่วงลดอาการฟกช้ำตามจุดต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- 5. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นำเถาสดของบอระเพ็ดที่โตเต็มเต็มที่ไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบด ชงกับน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อน
- 6. ช่วยลดระดับความดันโลหิต จากการศึกษาพบว่า ในบอระเพ็ดมีสาร Adenosine สาร Higenamine และสาร Salsolinol ที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย
- 7. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม ในบอระเพ็ดมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่มีฤทธิ์ต้านสาร AChE ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้
คำแนะนำ
- 1. สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน
- 2. ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะบอระเพ็ดเป็นพืชที่มีรสขมจัด อาจส่งผลถึงตับและไตได้
- 3. หากรับประทานไปแล้วพบว่ามีอาการมือเย็น เท้าเย็น มือเท้าไม่มีเรี่ยวแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรหยุดรับประทาน แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
- 4. สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานบอระเพ็ด




แหล่งที่มาของภาพ
https://img.kapook.com/u/2019/sireeporn/Health-6/b2.jpg
https://img.kapook.com/u/2019/sireeporn/Health-6/b1.jpg
https://img.tnews.co.th/userfiles/images/1(11285).jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/07/ดอกบอระเพ็ด.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/07/ลูกบอระเพ็ด.jpg