ผักขม
วงศ์ : AMARANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amaranthus blitum subsp. oleraceus (L.) Costea
ชื่อสามัญ : Amaranth
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักโหม, ผักหม, ผักโหมเกลี้ยง, กระเหม่อลอเตอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุปีเดียว เป็นพืชที่ขึ้นเอง ลำต้นเดี่ยวมีทรงพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขา มีลักษณะกลมๆ โคนมีสีแดงอมน้ำตาล มีก้านใบยาว ออกเรียงสลับโดยรอบๆ มีสีเขียว ลำต้นมีหนามหรือไม่มีหนาม ตามสายพันธุ์
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม ทรงรียาว โคนใบกว้างใหญ่ ปลายใบเรียวรี ผิวใบบางเรียบหรือมีขน มีก้านใบยาว ใบมีสีเขียวหรือสีแดง ตามสายพันธุ์ มีกลิ่นเหม็นเขียว
ดอก : ออกเป็นช่อ ก้านช่อดอกยาว ออกตามซอกใบและที่ปลายยอด มีแขนงก้านย่อยมาก มีดอกย่อย ดอกมีลักษณะเล็กๆ ดอกมีสีม่วงปนเขียว สีเขียว สีน้ำเงินอมม่วง ตามสายพันธุ์
ผล : มีลักษณะทรงกลม ผลดิบมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล ข้างในมีเมล็ดลักษณะทรงกลม มีขนาดเล็กๆ มีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ
การขยายพันธุ์ : ผักโขมเป็นพืชที่สามารถ เจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญเติบโตได้ดี มีวิธีการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ แบบหว่านแมล็ดโดยตรง หรือแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ลงในแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ให้มีระยะห่างระหว่างต้นพอประมาณ
สรรพคุณ
- 1. ช่วยบำรุงกำลังทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
- 2. ผักโขมมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- 3. ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้
- 4. ช่วยบำรุงและรักษาสุขภาพสายตา ป้องกันความเสื่อมของดวงตา
- 5. มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
- 6. ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ชะลอปัญหาความจำเสื่อม
- 7. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
- 8. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- 9. ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้คงที่
- 10. ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร
- 11. เป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากกับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ เพราะผักโขมอุดมไปด้วยโปรตีน
- 12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
- 13. แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
- 14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
- 15. ช่วยชะลอความเสื่อมของสายตา ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคดวงตาเสื่อมได้สูงถึง 43%
- 16. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่
- 17. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- 18. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
- 19. ใช้ถอนพิษไข้ ด้วยการนำรากมาปรุงเป็นยา (ราก)
- 20. ช่วยดับพิษภายในและภายนอก (ทั้งต้น)
- 21. วิตามินเคในผักโขมช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้
- 22. ช่วยแก้อาการตกเลือด
- 23. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ (ต้น)
- 24. ใช้แก้อาการบิด มูกเลือด (ทั้งต้น)
- 25. ช่วยแก้อาการแน่นท้อง
- 26. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้สะดวก เพราะมีเส้นใยสูง
- 27. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
- 28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
- 29. ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก (ทั้งต้น)
- 30. ช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือน เพราะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง
- 31. ใช้แก้ผดผื่นคัน (ทั้งต้น)
- 32. ช่วยรักษาฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น)
- 33. ใช้รักษาแผลพุพอง (ทั้งต้น, ใบสด)
- 34. ช่วยแก้อาการช้ำใน
- 35. ใช้แก้รำมะนาด (ทั้งต้น)
- 36. การรับประทานผักโขมจะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและอยู่ท้องนาน จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน
- 37. แก้อาการเด็กลิ้นเป็นฝ้าละอองและเบื่ออาหาร
- 38. ซุปผักโขมเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะมีประโยชน์หลากหลายและยังช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่และเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง
- 39. ผักโขมเป็นผักที่ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์
- 1. สำหรับชาวกรีกสมัยโบราณ ผักโขมถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ และมีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของหลุมศพต่าง ๆ
- 2. ประโยชน์ผักโขม ใบอ่อน ยอดอ่อน ต้นอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาต่อม หรือจะนำมานึ่งพร้อมกับปลา นำไปทำแกงเลียง ทำเป็นผัดผัก ผักโขมอบชีส พายผักโขมอบชีส ผักโขมราดซอสงาขาว ปอเปี๊ยะไส้ผักโขมชีส ซุปครีมผักโขม ซุปผักโขม เป็นต้น
คำแนะนำ
- 1. หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะไม่มีข้อมูลที่รับรองได้ว่าจะไม่เป็นอันตรายหากใช้ผักโขมในฐานะยารักษาโรคขณะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้เป็นดีที่สุด แต่หากต้องการลองใช้จริง ๆ ควรต้องปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Amaranth-1.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2017/06/4-19.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/09/2-30.jpg
https://medthai.com/images/2013/11/ต้นผักขมหัด.jpg
https://sites.google.com/a/kkn.ac.th/phuch-xnuraks/_/rsrc/1480647879822/tea-rang/phak-khom/ผักโขม.jpg