ขมิ้นชัน
วงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma longa L.
ชื่อสามัญ : Turmeric
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ขมิ้นแกง, ขมิ้นชัน, ขมิ้นหยอก, ขมิ้นหัว, ขี้มิ้น, ตายอ, สะยอ, หมิ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ขมิ้นชันเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30 - 95 ซม.
ใบ : ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก กว้าง 12 - 15 ซม. ยาว 30 - 40 ซม.
ดอก : ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3 - 4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
ผล : เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2 ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด มีกลิ่นฉุน
การขยายพันธุ์ : ขมิ้นชันชอบแสงแดดจัดและมีความชื้นสูง ชอบดินร่วนซุย มีการระบายน้ำดี ไม่ชอบน้ำขัง วิธีปลูกใช้เหง้าหรือหัวอายุ 10 - 12 เดือนทำพันธุ์ ถ้าเป็นเหง้าควรยาวประมาณ 8 - 12 ซม.หรือมีตา 6 - 7 ตา ปลูกลงแปลง กลบดินหนาประมาณ 5 - 10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอกประมาณ 30 - 70 วันหลังปลูก ควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9 - 10 เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้
สรรพคุณ
- 1. ขมิ้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งช่วยในการชะลอวัยและชะลอการเกิดริ้วรอย
- 2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย
- 3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผิวหนังมีสุขภาพดีแข็งแรง
- 4. ขมิ้นชันอาจมีบทบาทช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งปากมดลูก
- 5. ขมิ้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้
- 6. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- 7. ช่วยบรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
- 8. มีส่วนช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- 9. ช่วยลดอาการของโรคเกาต์
- 10. ช่วยขับน้ำนมของมารดาหลังคลอดบุตร
- 11. ช่วยรักษาระบบทางเดินหายใจที่มีอาการผิดปกติ
- 12. ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม
- 13. อาจมีส่วนช่วยในการรักษาโรครูมาตอยด์ (ยังไม่ได้รับการยืนยัน)
- 14. ช่วยลดการอักเสบ
- 15. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- 16. ช่วยรักษาอาการแพ้และไข้หวัด
- 17. ช่วยบรรเทาอาการไอ
- 18. ช่วยรักษาอาการภูมิแพ้ หายใจไม่สะดวกให้มีอาการดีขึ้น
- 19. ช่วยป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด
- 20. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในเม็ดเลือดแดงของผู้ป่วยธาลัสซีเมียฮีโมโกบิลอี
- 21. ช่วยรักษาแผลที่ปาก
- 22. ช่วยบำรุงปอดให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
- 23. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง
- 24. ช่วยรักษาอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง โดยนำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอนแล้วนำมารับประทานครั้งละ 3 เม็ด 3 เวลา
- 25. ช่วยแก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- 26. ช่วยรักษาโรคลำไส้อักเสบ
- 27. ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้
- 28. ช่วยรักษาอาการลำไส้ใหญ่บวม
- 29. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
- 30. ช่วยในการขับลม
- 31. ช่วยบรรเทาอาการนิ่วในถุงน้ำดี
- 32. มีฤทธิ์ในการช่วยขับน้ำดี
- 33. ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร และทำความสะอาดลำไส้
- 34. ช่วยบำรุงตับ ป้องกันตับอักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และป้องกันตับจากการถูกทำลายของยาพาราเซตามอล
- 35. ช่วยบำรุงหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง
- 36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- 37. ช่วยแก้อาการตกเลือด ด้วยการนำขมิ้นสดมาตำให้ละเอียด แล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำปูนใสแล้วรับประทาน
- 38. ช่วยแก้อาการตกขาว
- 39. ช่วยรักษาอาการปวดหรืออักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ
- 40. ช่วยแก้อาการน้ำเหลืองเสีย
- 41. ช่วยแก้ผื่นคันตามร่างกาย
- 42. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคัน
- 43. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน ด้วยการใช้ผงขมิ้นผสมกับน้ำ นำมาทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนทุกวัน วันละ 2 ครั้ง
- 44. ช่วยรักษาโรคผิวหนังพุพอง ตุ่มหนองให้หายเร็วยิ่งขึ้น
- 45. ช่วยรักษาแผลจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ ด้วยการนำขมิ้นมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วตำจนละเอียด คั้นเอาแต่น้ำมาทาบริเวณดังกล่าว
- 46. มีฤทธิ์ในการต่อต้านและฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง และต่อต้านยีสต์ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ
- 47. ช่วยต่อต้านปรสิตหรือเชื้ออะมีบาที่เป็นต้นเหตุของโรคบิดได้
- 48. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส เช่น แบคทีเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย แบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง เป็นต้น
- 49. มีฤทธิ์ในการต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านสารก่อมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกับโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย และโรคเบาหวาน
- 50. ช่วยสมานแผลตามร่างกายให้หายเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการนำผงขมิ้นมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนบาดแผล และยังช่วยให้บาดแผลไม่ให้ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวได้ และสามารถเร่งให้แผลที่ติดเชื้อหายได้
- 51. ขมิ้นยังมีสรรพคุณช่วยในการป้องกันการงอกของขนอีกด้วย โดยผู้หญิงชาวอินเดียมักนำขมิ้นมาทาผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก
- 52. ขมิ้นชันขัดผิว ใช้ทำทรีตเมนต์พอกผิวขัดผิวด้วยขมิ้น ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มนวล ขาวผ่องใส เต่งตึง ด้วยการนำขมิ้นสดมาล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วนำไปปั่นรวมกับดินสอพอง 2 - 3 เม็ด แล้วผสมกับมะนาว 1 ลูก ปั่นจนเข้ากัน นำมาพอกหน้าหรือผิวทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
- 53. ขมิ้นเป็นส่วนประกอบของทรีตเม้นต์รักษาสิวเสี้ยน สิวผด สิวอุดตัน
- 54. ขมิ้นเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งในเครื่องสำอางบำรุงผิวต่าง ๆ
- 55. นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืชได้อีกด้วย
ประโยชน์
- 1. ในขมิ้นชันนั้น อุดมไปด้วยวิตามิน เอ และ ซี มีคูเคอร์มิน (Curcumin) สารอาหารเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (oxidation)ในร่างกาย ช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงช่วยในการสมานแผล สามารถช่วยบรรเทาอาการแผลเรื้อรัง และเป็นหนองได้ (กรณีใช้ทาภายนอก)
- 2. ขมิ้นชัน ยังมีประโยชน์ที่โดดเด่นในเรื่องของการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบย่อยอาหารโดยรวม ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากโรคกระเพาะอาหาร และกรดไหลย้อนได้ เช่น อาการปวด จุก เสียด แน่นท้อง และช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และอาการท้องเสียได้
คำแนะนำ
- 1. การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง
- 1. การรับประทานขมิ้นเพื่อการรักษาโรคใด ๆ ก็ตาม ถ้าหากเรารู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แล้วรับประทานไปเรื่อย ๆ จนโรคนั้นหายไปแล้ว ก็ควรหยุดรับประทาน ถึงแม้ขมิ้นจะมีประโยชน์ก็จริง แต่หากร่างกายได้รับมากเกินความต้องการอาจจะกลายเป็นโทษเสียเอง ขมิ้นชันมีผลข้างเคียงคืออาการแพ้ เช่น คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ดังนั้นหากคุณรับประทานขมิ้นแล้วมีอาการดังกล่าว ควรหยุดรับประทานและหายาชนิดอื่นรับประทานแทน และยังมีความเชื่อเรื่องโทษและข้อเสียของขมิ้นในแถบภาคใต้ว่า การรับประทานขมิ้นที่มากเกินไปและถี่เกินไปนั้นแทนที่จะช่วยป้องกันโรคมะเร็ง อาจจะเป็นมะเร็งเสียเอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ขมิ้นชัน <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://www.honestdocs.co/system/blog_articles/main_hero_images/000/003/481/medium/iStock-539822368_%281%29.jpg
https://cdn.igetweb.com/uploads/2862/filemanager/01f9c897a7ea50106f9e5977adb96c42_full.JPG
http://www.yesspathailand.com/images/column_1268657003/kamin-2-gif400.gif
http://tree.t5denha.ac.th/botanical_school/wp-content/uploads/2015/09/kamin-4.jpg
https://secure.ap-tescoassets.com/assets/TH/691/212691/ShotType1_540x540.jpg