ข้าวกล้อง
วงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa L.
ชื่อสามัญ : Rice
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1 - 1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก
ใบ : มีใบเรียว ยาว 50 - 100 เซนติเมตร และกว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร
ดอก : ช่อดอกห้อยยาว 30 - 50 เซนติเมตร
ผล : เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5 - 12 มิลลิเมตร และหนา 2 - 3 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ : การปลูกข้าวในดินแห้ง การหยอดเมล็ด ใช้ในการปลูกข้าวไร่โดยหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงในแปลง ปลูกภายหลังจากมีการคราดพื้นที่ ก่อนที่จะมีการขังน้ำในนาในระดับสูง การปลูกข้าวในดินที่มีน้ำขัง การปักดำ เป็นการปลูกต้นข้าวในแปลงเพาะกล้าแล้วย้ายกล้าไปปักดำในแปลงปลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในนาน้ำฝนและนาชลประทาน การหว่านน้ำตม เป็นการแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ำให้เริ่มงอก ก่อนนำไปหว่านในนาที่เตรียมพื้นที่ในสภาพมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย เมื่อต้นข้าวงอกและเจริญเติบโตจึงค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำที่ท่วมขังในนาข้าว
สรรพคุณ
- 1. ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูกำลัง ป้องกันอาการอ่อนเพลีย (วิตามินบี 2)
- 2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญโตของร่างกาย
- 3. ข้าวกล้องมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา (ข้าวกล้องงอก)
- 4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส (วิตามินอี)
- 5. ข้าวกล้องมีวิตามินบี 3 ซึ่งบำรุงสุขภาพผิวหนังและลิ้นได้
- 6. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง)
- 7. ข้าวกล้องงอกช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์
- 8. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (วิตามินบี 2)
- 9. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ฟอสฟอรัส)
- 10. ช่วยป้องกันและเสริมสร้างการสึกหรอของร่างกาย (โปรตีน)
- 11. ลูทีนในข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือต้องใช้สายตาอย่างหนักในการนั่งหน้าคอมพ์นาน ๆ (ลูทีน, เบตาแคโรทีน)
- 12. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็ก, ธาตุทองแดง)
- 13. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (เบตาแคโรทีน, วิตามินอี)
- 14. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งออกซิเจนในเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย (ธาตุเหล็ก)
- 15. ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องจะช่วยดูดซับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
- 16. เส้นใยอาหารของข้าวหอมนิลมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ข้าวหอมนิล)
- 17. ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ (น้ำข้าว)
- 18. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค (น้ำข้าว)
- 19. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (น้ำข้าว)
- 20. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
- 21. ข้าวหอมมะลิแดงช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก (ไอโอดีน)
- 22. ช่วยแก้ตาแดง (น้ำข้าว)
- 23. ช่วยแก้เลือดกำเดา (น้ำข้าว)
- 24. ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก (แผลที่มุมปาก) และริมฝีปากบวม (วิตามินบี 2)
- 25. ช่วยเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ (โดยเฉพาะข้าวกล้อง)
- 26. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (น้ำข้าว)
- 27. การรับประทานข้าวกล้องจะได้กากอาหารมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูกและมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี
- 28. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ข้าวผัวไม่ลืม)
- 29. ข้าวประโยชน์ช่วยแก้พิษต่าง ๆ (น้ำข้าว)
- 30. ช่วยลดการเกิดหรือลดอาการของการเป็นตะคริวได้ (แคลเซียม)
- 31. ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี เพราะจะมีวิตามินบี 1 สูง
- 32. ประโยชน์ข้าวกล้องงอกช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายมากยิ่งขึ้น (ข้าวกล้องงอก)
- 33. ข้าวกล้องช่วยลดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของหญิงวัยทอง (ข้าวกล้องงอก)
- 34. ช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)
ประโยชน์
- 1. เมล็ดข้าว สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้
- 2. รำข้าวสามารถนำมาใช้ทำเป็น น้ำมันรำข้าว ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ทำลิปสติก ทำยาหม่อง ทำแวกซ์ หรือทำเป็นโลชันบำรุงผิว ฯลฯ
- 3. ฟางข้าวสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย ปลูกเห็ด ทำเป็นของเล่น กระดาษ ทำเป็นแกลบหรือขี้เถ้า ผสมทำเครื่องปั้นดินเผา ถ่านกัมมันต์หรือถ่านดูดกลิ่น ใช้เป็นส่วนผสมของยาขัดรถ ฯลฯ
- 4. ประโยชน์ข้าวนอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักแล้วยังใช้ทำเป็นของหวานชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขนมตาล ขนมกล้วย ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ปลากริมไข่เต่า ทำเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ฯลฯ
คำแนะนำ
- 1. ข้าวที่สีเพียงครั้งเดียว โดนกะเทาะเอาเปลือกนอกออกเท่านั้น จะไม่มีการขัดสีเอาเส้นใยที่อยู่รอบ ๆ เมล็ดออก โดยหลักการเลือกซื้อข้าวกล้องให้ได้ประโยชน์สูงสุด
- 2. เมล็ดข้าวจะต้องสมบูรณ์ ไม่แตกหักหรือแหว่งตรงปลายเมล็ด เพราะถ้าเมล็ดแหว่งหรือแตกหักก็แสดงว่าจมูกข้าวหายไปแล้ว ซึ่งตรงนี้แหละสำคัญมาก ๆ เพราะจมูกข้าวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มากที่สุดในเมล็ดข้าว
- 3. สีของเมล็ดต้องขาวขุ่น หรือมีสีน้ำตาลปนบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ บางครั้งอาจจะมีสีเขียวอ่อน ๆ ติดอยู่ นั่นแสดงว่าเป็นข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ ๆ เยื่อหุ้มจึงยังติดอยู่
- 4. เมล็ดข้าวต้องแห้งสนิท ไม่มีความชื้น ไม่มีราขึ้น บรรจุอยู่ในถุงที่ปิดสนิท และมีแหล่งที่ผลิตชัดเจน
- 5. การซื้อแต่ละครั้งควรซื้ออย่างพอเหมาะกับสมาชิกในครอบครัวที่รับประทานได้ 1 - 2 อาทิตย์ เพื่อความสดใหม่
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ข้าวกล้อง <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://prayod.com/wp-content/uploads/2019/10/ข้าวกล้อง.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/100/14100/images/rice.jpg
http://www.ricethailand.go.th/rkb3/rice_blb_ooze_05_009.JPG
https://data.photo-ac.com/data/thumbnails/d9/d93a379b74a283c5b52a9072dff89bf4_t.jpeg
https://favy-inbound-singapore.s3.amazonaws.com/uploads/topic_item/image/70810/retina_Rice_plant.jpg