ผักชีลาว
วงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anethum graveolens L.
ชื่อสามัญ : Dill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักชีเมือง, ผักชีเทียน, ผักชีตั๊กแตน, ผักชี, เทียนข้าวเปลือก, เทียนตาตั๊กแตน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ผักชีลาวเป็นพืชล้มลุก มีอายุไม่ถึงปี มีลำต้นสูงประมาณ 40 - 120 ซม. ลำต้นกลม ลำต้นมีขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 - 10 มล. หรือประมาณไม้เสียบลูกชิ้นถึงเท่าแท่งดินสอ ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่โคนต้น ลำต้นมีสีเขียวเข้ม เนื้อลำต้นมีลักษณะอ่อน หักพับง่าย
ใบ : เป็นใบประกอบ ออกตรงข้ามกันบริเวณข้อกิ่ง มีก้านใบยาว 10 - 20 ซม. บนก้านใบประกอบด้วยใบย่อยจำนวนมาก แต่ละใบย่อยมีก้านใบยาวประมาณ 4 - 6 ซม. แตกออกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ ส่วนของใบมีลักษณะเป็นเส้นแบนขนาดเล็ก มีสีเขียว ยาวประมาณ 0.5 - 2 ซม.
ดอก : ออกเป็นช่อหลายช่อในก้านดอก แทงออกบริเวณส่วนยอดของลำต้น มีก้านช่อดอกยาว 5 - 15 ซม. แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกประกอบด้วยกลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน บริเวณฐานดอก ภายในมีรังไข่ 2 ห้อง
ผล : ผล 1 ผล เจริญมาจากดอก 1 ดอก เมล็ดมีรูปไข่ทรงรี ขนาดกว้างประมาณ 2 มล. ยาวประมาณ 4 มล. เมล็ดแห้งที่แก่จัดมีลักษณะแบน และมีลายสีน้ำตาลสลับดำอมเท่าพาดตามแนวยาวของเมล็ด ลายนี้ทำให้มองเห็นเมล็ดดูคล้ายตาตั๊กแตน จึงเป็นที่มาของบางชื่อในบางท้องถิ่น
การขยายพันธุ์ :
สรรพคุณ
- 1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระในปริมาณมาก ช่วยในการชะลอวัย
- 2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับตาต่าง ๆ (เพราะมีวิตามินเอสูงมาก)
- 3. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (มีแคลเซียมสูง)
- 4. ใช้เป็นยาบำรุงกำลังชั่วคราว (ผลแก่)
- 5. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย
- 6. ช่วยลดความดันโลหิตสูง
- 7. ช่วยยับยั้งหรือช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
- 8. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (เบตาแคโรทีน)
- 9. ช่วยขยายหลอดเลือด
- 10. ช่วยบำรุงปอด (ผล)
- 11. ช่วยขับเหงื่อ (ทั้งต้น)
- 12. ช่วยกระตุ้นการหายใจ
- 13. แก้หอบหืด (ผล)
- 14. ช่วยแก้อาการไอ (ผล)
- 15. ช่วยแก้อาการสะอึก (ผล)
- 16. ช่วยเพิ่มปริมาณของน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่เพิ่งคลอดบุตร (ใบ)
- 17. ช่วยลดอาการโคลิค (Baby colic) หรืออาการ "เด็กร้องร้อยวัน" ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด (ใบ)
- 18. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เป็นลม (ผล)
- 19. ช่วยส่งเสริมการทำงานของกระเพาะอาหาร (ใบ)
- 20. ช่วยแก้อาการปวดท้อง ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
- 21. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว หรือจะใช้ต้นสดนำมาผสมกับนมให้เด็กอ่อนดื่มแก้อาการก็ได้เช่นกัน (ผลแก่)
- 22. แก้อาการอึดอัดแน่นท้อง ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 50 กรัม นำมาเคี่ยวกับน้ำจนข้นแล้วรับประทาน (ต้นสด)
- 23. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับน้ำดื่มวันละ 4 แก้ว (ผลแก่)
- 24. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบสดหรือยอดอ่อนนำมาต้มกินเป็นอาหาร (ใบ)
- 25. แก้อาการปัสสาวะขัด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 50 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นชา (ใบ)
- 26. ช่วยรักษาไส้ติ่งอักเสบ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำกิน (ต้นสด)
- 27. ช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ด้วยการใบสดนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่เป็นฝีวันละ 2 ครั้ง (ใบ)
- 28. ช่วยแก้อาการบวม (ทั้งต้น)
- 29. ช่วยแก้เหน็บชา (ทั้งต้น)
- 30. ช่วยทำให้ง่วงนอน (ผล)
ประโยชน์
- 1. ผลหรือเมล็ดมีน้ำมันหอมระเหย นำมาผลิตใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร อุสาหกรรมเครื่องสำอาง เช่น สบู่ โลชั่นบำรุงผิว เป็นต้น (ผล)
- 2. ใบนิยมนำมาใส่แกงอ่อม แกงหน่อไม้ ห่อหมก น้ำพริกปลาร้า ผักชีลาวผัดไข่ ยอดของใบใช้รับประทานกับลาบและยังช่วยชูรสชาติอาหารอีกด้วย (ใบ)
- 3. ผลนิยมนำมาบดโรยบนมันฝรั่งบดหรือสลัดผักเพื่อช่วยเพิ่มรสชาติของอาหาร (ผล)
- 4. ใบสดและแห้งนิยมนำมาโรยบนอาหารประเภทปลาเพื่อช่วยดับกลิ่นคาว (ใบ)
- 5. น้ำมันผักชีลาวนำมาใช้แต่งกลิ่นผักดอง สตูว์ น้ำซอส ของหวาน และเครื่องดื่มรวมไปถึงเหล้าด้วย (น้ำมันผักชีลาว)
คำแนะนำ
- 1. ผักชีลาวมีประโยชน์มาก แต่ปริมาณการรับประทานก็ควรอยู่ในปริมาณที่จำกัด เพราะผักชีลาวเองก็ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้เช่นกัน เนื่องจากการรับประทานผักชีลาวมากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงและอาจทำให้เป็นผื่นแดงได้ ดังนั้นหากจะรับประทานผักชีลาวแบบปลอดภัยไร้ผลข้างเคียง ควรให้แพทย์กำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยให้ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมชัก ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยผักชีลาวเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
- 1. ผักชีลาวมีประโยชน์มาก แต่ปริมาณการรับประทานก็ควรอยู่ในปริมาณที่จำกัด เพราะผักชีลาวเองก็ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้เช่นกัน เนื่องจากการรับประทานผักชีลาวมากเกินไปอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสงและอาจทำให้เป็นผื่นแดงได้ ดังนั้นหากจะรับประทานผักชีลาวแบบปลอดภัยไร้ผลข้างเคียง ควรให้แพทย์กำหนดปริมาณการใช้ที่ปลอดภัยให้ นอกจากนี้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคลมชัก ห้ามใช้น้ำมันหอมระเหยผักชีลาวเด็ดขาด เพราะอาจทำให้อาการแย่ลง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ผักชีลาว <<<




แหล่งที่มาของภาพ
http://farmorganicseed.com/wp-content/uploads/2017/07/ผักชีลาว3.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2015/12/ผักชีลาว.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-195090-2.jpg
https://img.sportringside.com/userfiles/images/sportringside_1554543907_5946.jpg
https://sc01.alicdn.com/kf/HTB1tvaCIrSYBuNjSspiq6xNzpXaW/231799785/HTB1tvaCIrSYBuNjSspiq6xNzpXaW.jpg